ปิดเมนู
หน้าแรก

อันตรายมั้ย? มารู้จัก-ป้องกัน ไวรัสเมอร์ส โรคที่กำลังระบาด

เปิดอ่าน 817 views

ป้องกัน ไวรัสเมอร์ส1

อันตรายมั้ย? มารู้จัก-ป้องกัน ไวรัสเมอร์ส โรคที่กำลังระบาด

เพจเฟซบุ๊ก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) EMIT_1669 ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ “” ที่กำลังระบาดอยู่ในเกาหลีใต้ขณะนี้ โดยระบุว่า ไวรัสเมอร์ยังมีการใช้ยาต้านไวรัสค่อนข้างจำกัด และยังไม่มียาต้านไวรัสจำเพาะต่อเชื้อนี้ในการรักษา จึงทำได้เพียงให้การรักษาตามอาการ ผู้ป่วยมักมีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการไอหอบ หายใจลำบาก ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการในระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอย่างรุนแรง

โดยสเตตัสดังกล่าว ระบุไว้ดังนี้

ในรอบหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายคนก็คงจะได้ยินชื่อโรคแปลก ๆ อยู่โรคหนึ่ง นั่นคือ “โรค MERS-CoV
(เมอร์ส-คอฟ) โรคที่หลายคนก็คงจะสงสัยว่าเป็นโรคอะไร มีอันตรายอย่างไรต่อคน และเราสามารถหลีกเลี่ยงการรับเชื้อได้อย่างไรกันบ้าง วันนี้เรามีสาระความรู้เรื่องนี้มาฝากค่ะ

โรค MERS-CoV (เมอร์ส-คอฟ) ย่อมาจากคำว่า Middle East Respiratory Syndrome หรือกลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่ม โคโรน่าไวรัส (Coronavirus: CoV) ทำให้ชื่อย่อของเชื้อโรคนี้ในภาษาอังกฤษ จึงใช้คำว่า MERS-CoV นั่นเอง

โคโรน่าไวรัสเป็น RNA ไวรัส ที่สามารถก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร (ซึ่งส่วนมากแล้วอาการน้อยและบางครั้งอาจรุนแรงมาก) หากยังจำกันได้ เมื่อปี ค.ศ. 2002-2003 ขณะนั้นมีโรคซาร์ส โคโรน่าไวรัส (SARS Coronavirus) เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน

ขอบคุณภาพประกอบจาก โรงพยาบาลสมิติเวช

แต่การติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด พบว่ามีการรายงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ต่อมาเชื้อได้แพร่กระจายไปยังประเทศใกล้เคียง ได้แก่ การ์ตา จอร์แดน ฝรั่งเศส อิตาลี และ ตูนิเซีย เดิมทีเราเรียกไวรัสชนิดนี้ว่า “โนเวล โคโรน่า ไวรัส: Novel Corona virus) แต่ในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกได้ใช้ชื่อเรียกใหม่ว่า Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus หรือ โรค MERS-CoV (เมอร์ส-คอฟ) ที่สามารถพบการติดเชื้อได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในผู้ใหญ่ และมีอัตราการเสียชีวิตราวร้อยละ30 (ข้อมูล ณ วันที่ 24 เมษายน 2557) ความสำคัญของการพบโรคนี้ก็คือ นอกจากอัตราการเสียชีวิตที่สูงแล้ว ยังพบการแพร่กระจายจากคนสู่คน โดยเฉพาะบุคคลที่อาศัยภายในบ้านเดียวกันนั่นเอง

อาการที่สังเกตได้ คือ มักพบได้ตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงมีอาการรุนแรงแล้ว ซึ่งผู้ป่วยมักมีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส มีอาการไอหอบ หายใจลำบาก ในรายที่อาการรุนแรงพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็วภายใน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีลักษณะของกลุ่มอาการในระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอย่างรุนแรง คือมีอาการหอบเหนื่อยตามความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจน

แนวทางการรักษา เนื่องด้วยโรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ ทำให้ข้อมูลการใช้ยาต้านไวรัสค่อนข้างจำกัด และยังไม่มียาต้านไวรัสจำเพาะต่อเชื้อนี้ในการรักษา จึงทำได้เพียงให้การรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง จนกว่าการอักเสบในระบบทางเดินหายใจจะลดน้อยลงจนหายเป็นปกติดี

Passengers wearing masks to prevent contracting Middle East Respiratory Syndrome (MERS) ride on a travelator upon arrival at Incheon International Airport in Incheon, South Korea, June 2, 2015. South Korea on Tuesday reported its first two deaths from an outbreak of MERS that has infected 25 people in two weeks, as public alarm grew and officials scrambled to contain the outbreak. REUTERS/Kim Hong-Ji      TPX IMAGES OF THE DAY

Passengers wearing masks to prevent contracting Middle East Respiratory Syndrome (MERS) ride on a travelator upon arrival at Incheon International Airport in Incheon, South Korea, June 2, 2015. South Korea on Tuesday reported its first two deaths from an outbreak of MERS that has infected 25 people in two weeks, as public alarm grew and officials scrambled to contain the outbreak. REUTERS/Kim Hong-Ji TPX IMAGES OF THE DAY

สำหรับการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด เพราะเรายังไม่มียาที่ใช้ทำลายเชื้อนี้ได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการไข้สูง ไอ หอบ หายใจเร็ว ก็ควรให้ผู้ป่วยสวมผ้าปิดปาก-จมูก และมาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์ ส่วนผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ก็ให้สวมหน้ากากอนามัย และหมั่นรักษาความสะอาดมือ ทั้งผู้ป่วยเองและคนรอบข้างกันด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์กำธร มาลาธรรม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี และอาจารย์ประจำภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอบคุณภาพประกอบจาก : โรงพยาบาลสมิติเวชค่ะ

ขอบคุณภาพประกอบจาก โรงพยาบาลพญาไท

นสพ.ประชาชาติธุรกิจสนับสนุนเนื้อหา

восхождение на монблан

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : อันตรายมั้ย? มารู้จัก-ป้องกัน ไวรัสเมอร์ส โรคที่กำลังระบาด